การช่วยเหลือผู้ประสบภัยอุทกภัย

วันศุกร์, 06 มกราคม 2566 15:23
เมื่อวันที่ 5 มกราคม 2566 ณ ห้องประชุมเทศบาลตำบลกุดชมภู นายยงยุตย์ คำก้อน รองนายกเทศมนตรี เทศบาลตำบลกุดชมภู ร่วมประชุมพิจารณาการตรวจสอบข้อเท็จจริงสำรวจความเสียหายจากสถานการณ์อุทกภัย พายุโซนร้อนโนรู(NORU) มีผลกระทบภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้เกิดพายุฝนตกฟ้าคะนอง เป็นบริเวณกว้าง ทำให้ระดับน้ำสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้น้ำท่วมฉับพลันเข้าท่วมบ้านเรือนที่พักอาศัย พื้นที่การเกษตร ในเขตพื้นที่ตำบลกุดชมภู ทำให้บ้านเรือนประชาชนในพื้นที่ได้รับความเสียหาย จำนวน 35 ราย เพื่อเป็นไปตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยค่าใช้จ่ายเพื่อช่วยเหลือประชาชนตามอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2560 และแก้ไขเพิ่มเติมถึง ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2561 และหลักเกณฑ์การใช้จ่ายเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2563 ของกระทรวงการคลัง เพื่อเป็นการช่วยเหลือประชาชนตามอำนาจหน้าที่ และให้ประชาชนมีส่วนร่วมรับทราบแนวทางการช่วยเหลือ โดยมีการออกตรวจสอบข้อเท็จจริงและสำรวจความเสียหายรวมทั้งความต้องการช่วยเหลือด้านต่างๆ ของผู้ประสบสาธารณภัย และให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย มีจำนวน 52 คน ดังนี้ 1 หัวหน้าส่วนราชการในเทศบาลตำบลกุดชมภู 2 กำนันตำบลกุชมภู 3 ผู้ใหญ่บ้าน/ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านในพื้นที่ประสบอุทกภัย 4 ชาวบ้านที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัย จากการประชุมร่วมกันได้ผลสรุปคือ ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยกรณีฉุกเฉินในกรณีใด กรณีหนึ่งใน 3 กรณี ดังนี้ (1) กรณีที่อยู่อาศัยประจำอยู่ในพื้นที่น้ำท่วมขัง ติดต่อกันตั้งแต่ 1วัน (24 ชั่วโมง) แต่ไม่เกิน 7 วัน และทรัพย์สินได้รับความเสียหาย หรือที่อยู่อาศัยประจำถูกน้ำท่วมขังเกินกว่า 7 วัน แต่ไม่เกิน 30 วัน ให้ความช่วยเหลือ ครัวเรือนละ 5,000 บาท (2) กรณีที่พักอาศัยอยู่ในพื้นที่น้ำท่วมขัง ติดต่อกันเกินกว่า 30 วัน แต่ไม่เกิน 60 วัน ให้ความช่วยเหลือ ครัวเรือนละ 7,000 บาท (3) กรณีที่พักอาศัยอยู่ในพื้นที่น้ำท่วมขัง ติดต่อกันเกินกว่า 60 วัน ขึ้นไป ให้ความช่วยเหลือครัวเรือนละ 9,000 บาท สำหรับหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในช่วงฤดูฝน ปี 2565 ดังนี้ หลักเกณฑ์ (1) ต้องเป็นกรณีอุทกภัยที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อที่อยู่อาศัยในช่วงฤดูฝนปี 2565 ตั้งแต่ 13 พฤษภาคม ถึง 28 ตุลาคม 2565 ทั้งกรณีน้ำท่วมโดยฉับพลัน น้ำไหลหลาก น้ำล้นตลิ่ง รวมถึงการระบายน้ำจนส่งผลกระทบทำให้ไม่สามารถดำรงชีวิตได้ และ (2) ต้องเป็นที่อยู่ที่ประสบอุทกภัยตามที่กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยประกาศเป็นเขตพื้นที่ประสบสาธารณภัยหรือประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยกรณีฉุกเฉิน ซึ่งได้รับผลกระทบกรณีใดกรณีหนึ่ง คือ ที่อยู่อาศัยประจำถูกน้ำท่วมขัง ตั้งแต่ 1 วัน (24 ชั่วโมง) แต่ไม่เกิน7 วัน และทรัพย์สินได้รับความเสียหาย หรือที่อยู่อาศัยประจำถูกน้ำท่วมขัง เกินกว่า 7 วันขึ้นไป-เงื่อนไข (1) ต้องเป็นบ้านที่อยู่อาศัยประจำในพื้นที่ที่ได้ประกาศเขตพื้นที่ประสบสาธารณภัยและหรือประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน โดยมีหนังสือรับรองผู้ประสบภัยที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นออกให้ และต้องผ่านการประชาคมหมู่บ้านของแต่ละพื้นที่ประสบสาธารณภัย และผ่านการตรวจสอบและยืนยันข้อมูลจากคณะกรรมการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติอำเภอ และคณะกรรมการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติจังหวัด สำหรับกรุงเทพมหานครต้องผ่านการตรวจสอบและยืนยันข้อมูลจากสำนักงานเขตและกรุงเทพมหานคร (2) กรณีที่ประสบภัยหลายครั้ง ให้ได้รับความช่วยเหลือเพียงครั้งเดียว โดยที่ประชุมประชาชนที่ได้รับความเสียหาย ได้ยอมรับในหลักเกณฑ์เงื่อนไขการช่วยเหลือ ซึ่งเข้าหลักเกณฑ์ผู้มีทรัพย์สินเสียหายจำนวน 30 ราย 2. ไม่เข้าหลักเกณฑ์ ผู้มีทรัพย์สินไม่เสียหาย จำนวน 5 ราย ซึ่งทางเทศบาลตำบลกุดชมภู จะนำผลสรุปที่ได้จากการประชุมรับฟังหลักเกณฑ์การช่วยเหลือผู้ประสบภัยในช่วงฤดูฝน ตามมติ ครม. รายงานต่ออำเภอแต่งตั้งคณะทำงานสำรวจ ตรวจสอบ เสนอ ก.ช.ภ.อ. ให้ความเห็นชอบเพื่อเป็นการช่วยหลือประชาชนบำบัดทุกข์ บำรุงสุข และให้นายอำเภอลงนามรับรองความถูกต้องต่อไป

ร้องเรียนร้องทุกข์

Map

Poll

ความพึงพอใจของท่าน ต่อการให้บริการของ เทศบาลตำบลกุดชมภู อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี อยู่ในระดับใด ?
  • โหวต: (0%)
  • โหวต: (0%)
  • โหวต: (0%)
  • โหวต: (0%)
  • โหวต: (0%)
Total Votes:
First Vote:
Last Vote:

สารสนเทศ สถ.

หน่วยงาน สถ.

ลิงค์น่าสนใจ